วันศุกร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ลองสมัคร Blog ที่ learners.in.th

วันนี้ลองสมัครไว้ที่นี้ http://learners.in.th/blog/aoyjung อีกบล๊อค

วันพุธที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ความหมาย..."การวิจัย"

จากการค้นคว้าหาความหมายของการวิจัย ข้าพเจ้าได้รวบรวมความหมายจากหลายแหล่งข้อมูล ได้ความหมายของการวิจัย ดังนี้

การวิจัย คือ การสะสม การรวบรวม การค้นคว้าเพื่อหาข้อมูลอย่างถี่ถ้วนตามหลักวิชา (พจนานุกรม ฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542)

Research : A detailed study of s subject, esp. in order to discover (new) information or reach a (new) understanding (Cambridge International Dictionary of English)

พจนานุกรมฉบับนักเรียน (2536 :470) ได้ให้ความหมายของการวิจัยว่า การสะสมการรวบรวม การค้นคว้าเพื่อหาข้อมูลอย่างถี่ถ้วนตามหลักวิชา

อนันต์ ศรีโสภา (2521 : 16) ได้ให้ความหมายของการวิจัยว่าเป็นกระบวนการเสาะแสวงหาความรู้ จากปัญหาที่ชัดเจนอย่างมีระบบ โดยมีการทดสอบสมมุติฐานที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผลซึ่งสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายในเรื่องนั้น ๆ เพื่อนำไปใช้พยากรณ์หรือสังเกตการเปลี่ยนแปลงเมื่อควบคุมสิ่งหนึ่งให้คงที่

รวีวรรณ ชินะตระกูล (2535: 1 - 2) ได้ให้ความหมายของการวิจัย RESEARCH จำแนกตามตัวอักษรภาษาอังกฤษไว้ดังนี้
R = Recruitment & Relationshipหมายถึง การฝึกตนให้มีความรู้ รวบรวมรายชื่อผู้ที่มีความรู้เพื่อปฏิบัติงานร่วมกันติดต่อสัมพันธ์และประสานงานกัน
E = Education & Efficiency หมายถึง ผู้วิจัยจะต้องมีการศึกษา มีความรู้ และประสิทธิภาพสูงในการวิจัย
S = Sciences & Stimulation หมายถึง เป็นศาสตร์ที่ต้องมีการพิสูจน์ค้นคว้าเพื่อหาความจริง และผู้วิจัยจะต้องมีพลังกระตุ้นในความคิดริเริ่มมีความกระตือรือล้นที่จะทำวิจัย
E = Evaluation & Environment หมายถึง รู้จักประเมินผลดูว่ามีประโยชน์และเหมาะสมที่จะทำการวิจัยต่อไปหรือไม่และต้องรู้จักใช้เครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ ในการวิจัย
A = Aim & Attitude หมายถึง มีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน และมีเจตคติที่ดีต่อการติดตามผลการ
R = Result หมายถึง ผลการวิจัยที่ได้มาจะเป็นผลในทางไหนก็ตามจะต้องยอมรับผลการวิจัยนั้น ๆ เนื่องจากเป็นผลที่ได้จากการค้นคว้าศึกษาหาความรู้อย่างเป็นระบบ
C = Curiosity หมายถึง ผู้วิจัยจะต้องมีความอยากรู้อยากเห็นมีความสนใจและขวนขวายในงานวิจัยอยู่ตลอดเวลา แม้ว่าความอยากรู้นั้นจะมีเพียงเล็กน้อยก็ตาม
H = Horizon หมายถึง เพื่อผลการวิจัยปรากฏออกมาแล้วย่อมทำให้ทราบและเข้าใจในปัญหาเหล่านั้นได้เหมือนกับการเกิดแสงสว่างขึ้น ถ้ายังไม่เกิดแสงสว่างขึ้น ผู้วิจัยจะต้องดำเนินต่อไปจนกว่าจะพบแสงสว่าง

ไพโรจน์ ตีรณธนากุล (2534 : 1)ได้ให้ความหมายของการวิจัยไว้ว่าการศึกษาค้นคว้า รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ อย่างมีระเบียบ และมีจุดมุ่งหมายอย่างแน่นอนแล้วนำข้อมูลต่าง ๆ มาทำการวิเคราะห์ เปรียบเทียบความหมายตลอดจนหาเหตุผล และความเป็นมาของข้อมูลทำการสรุปอย่างมีระบบ โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์และทางสถิติ ทั้งนี้เพื่อให้ได้มาซึ่งความจริงและหลักการบางอย่าง

จากความหมายเกี่ยวกับการวิจัย ก็จะมีคำเกี่ยวกับปรัชญาการศึกษาที่เกี่ยวข้อง ดังนี้


ญาณวิทยา หรือเรียกอีกอย่างว่า ทฤษฎีความรู้ ( Theory of Knowledge )

คำว่า ญาณวิทยานี้บัญญัติขึ้นเพื่อใช้เป็นคำแปลของคำภาษาอังกฤษว่า Epistemology ซึ่งมาจากภาษากรีกว่า
Episteme (ความรู้) + Logos (วิชา )

มีความหมายว่า ทฤษฎีแห่งความรู้ ( Theory of Knowledge )
ซึ่งญาณวิทยา จะอธิบายถึงปัญหาเกี่ยวกับที่มาของความรู้
แหล่งเกิดของความรู้ ธรรมชาติของความรู้
และเหตุแห่งความรู้ที่แท้จริง

การที่มนุษย์เรามีความรู้ขึ้นมาได้นั้น เพราะ มนุษย์นั้นรู้จักการคิด ซึ่งแตกต่างจากสัตว์โลกประเภทอื่น การที่เราจะมีความรู้ที่แท้จริง (อภิปรัชญา) ได้นั้น เราต้องใช้วิธีการของญาณวิทยาสืบค้นหาความเป็น
จริงอย่างละเอียด

ญาณวิทยา เป็นภาษาสันสกฤต มาจากคำว่า ญาณ (ความรู้) และคำว่า วิทยา (วิชา) คำนี้จึงหมายถึงวิชาว่าด้วยความรู้ หรือทฤษฎีความรู้ ภาษาอังกฤษของคำว่า ญาณวิทยา คือ อังกฤษ: Epistemology มาจากคำว่า episteme (knowledge) และ logos (theory) ความหมายก็คือ Theory of Knowledge นั่นเอง

ขอบเขตการศึกษาของญาณวิทยา

•ศึกษาเรื่องบ่อเกิดของความรู้
•ศึกษาเรื่องธรรมชาติของความรู้
•ศึกษาเรื่องขอบเขตของความรู้
•ศึกษาเรื่องความสมเหตุสมผลของความรู้



อภิปรัชญา (Metaphysics) คือปรัชญาที่เกี่ยวข้องกับการหาความจริงสูงสุดที่เกี่ยวกับโลก นั่นเอง
อภิปรัชญาเป็นคำแปลของคำว่า Metaphysics ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยความแท้จริงหรือสารัตถะ (Reality Essence) มีปรัชญาอีกสาขาหนึ่งที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับ Metaphysics คือ Ontology แปลว่า ภววิทยา ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยความมี (being) ศาสตร์ทั้งสองนี้มีความเกี่ยวข้องกันเพราะว่า Metaphysics คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยความแท้จริงหรือสารัตถะว่ามีจริงหรือไม่ Ontology ก็ศึกษาเรื่องความมีอยู่ของความแท้จริง หรือสารัตถะนั้นเป็นจริงอย่างไรโดยทั่วไปถือว่าศาสตร์ทั้งสองนี้ศึกษาเรื่องเดียวกัน คือ ความมีอยู่ของความแท้จริง หรือความแท้จริงที่มีอยู่ เพราะฉะนั้นจึงถือว่าศาสตร์ทั้งสองเป็นเรื่องเดียวกัน อภิปรัชญาเมื่อพิจารณาตามรูปศัพท์ อภิปรัชญามาจากคำว่า “อภิ” หมายถึง ความยิ่งใหญ่ สูงสุด เหนือสุด และปรัชญาหมายถึงความรู้อันประเสริฐเมื่อรวมเข้าด้วยกัน “อภิปรัชญา” จึงหมายถึง ปรัชญาที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่อยู่นอกเหนือจากการเห็นทั่ว ๆ ไป หรือความรู้ที่อยู่นอกเหนือการรู้เห็นใด ๆ แต่สามารถรู้และเข้าใจด้วยเหตุผล

บทสรุป
อภิปรัชญาเป็นปรัชญาบริสุทธิ์สาขาแรกที่เกิดขึ้นมาในโลกเกิดจากความประหลาดใจ และความสงสัยของมนุษย์สมัยโบราณ ที่มีต่อ ปรากฏการณ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และจากความอยากรู้อยากเห็นของมนุษย์นี้เองทำให้มนุษย์ต้องสืบหาสาเหตุของความเป็นจริงเหล่านั้นซึ่งคำตอบที่ได้อาจถูกบ้างผิดบ้างจนในที่สุดก็ได้คำตอบที่ถูกต้อง จากคำตอบที่ถูกต้องนี้แหละคือความรู้ทางอภิปรัชญา แม้จะแยกย่อยเป็นจำนวนมากแต่อยู่ในขอบเขตของสาขาใหญ่ๆ 3 สาขาของอภิปรัชญา คือ สสารนิยม จิตนิยม และธรรมชาตินิยม นอกจากอภิปรัชญา 3 สาขาใหญ่แล้ว ยังมีภววิทยาซึ่งเป็นสาขาที่สำคัญของอภิปรัชญา ซึ่งในศาสตร์ของภววิทยานี้ได้แยกออกเป็น 3 ทฤษฎี คือ เอกนิยม ทวินิยม และพหุนิยม อภิปรัชญาถือว่าเป็นหลักของโครงสร้างของวิชาปรัชญา

ที่มาของข้อมูล :

http://chitti-u.blogspot.com

วันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ความหมาย..."เทคโนโลยีการศึกษา"

แนวคิดเกี่ยวกับความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษา อาจแบ่งได้เป็น 2 แนวคิดหลัก
1.แนวคิดเชิงวิทยาศาสตร์หรือเทคโนโลยีทางการศึกษา (Technology in education)หรือเทคโนโลยีเชิงเครื่องมือ
เทคโนโลยีทางการศึกษา หมายถึง การนำสื่อที่เกิดจากการปฏวัติทางการสื่อสารมาใช้ในการเรียนการสอน
เทคโนโลยีทางการศึกษา หมายถึง การนำทัพสัมภาระต่าง ๆ อันเป็นผลผลิตแห่งความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการเรียนการสอน
จากความหมายที่ยกมาทั้งสองความหมายข้างต้น จะพบว่าเป็นความหมายที่เน้นที่เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่เป็นผลผลิตจากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์หรือสื่อสมัยใหม่ที่เกิดจากการประดิษฐ์คิดค้นของนักวิทยาศาสตร์ หรือ สื่อสมัยใหม่ที่เกิดจากการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือดังกล่าวขึ้นเพื่อเอาชนะอุปสรรค ปัญหาในการสื่อสารของมนุษย์ ซึ่งผลจากการประดิษฐ์คิดค้นนั้นทำให้เกิดเครื่องมือหรืออุปกรณ์ หรือทัพสัมภาระต่าง ๆ มากมาย อาทิ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ โทรศัพท์ โทรสาร เครื่องขยายเสียง คอมพิวเตอร์และอื่น ๆ อีกมากมาย แล้วต่อมานักการศึกษา หรือ ครู อาจารย์ได้นำเอาเครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ เหล่านั้นเข้าใช้ในการเรียนการสอน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือเมื่อนักวิทยาศาสตร์สามารถประดิษฐ์เครื่องมือต่าง ๆ ออกมาได้แล้ว นักการศึกษาก็มาพิจารณาว่าเครื่องมือดังกล่าวจะสามารถนำมาใช้ช่วยแก้ปัญหาตรงจุดใดของการศึกษาได้บ้าง ความคิดหรือความเข้าใจความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษาในลักษณะเช่นนี้ เรียกอีกนัยว่าเทคโนโลยีในการศึกษา (Technology in education)

2.แนวคิดเชิงพฤติกรรมหรือเทคโนโลยีทางการศกษา (Technology of education)หรือเทคโนโลยีเชิงระบบ (System technology)
เทคโนโลยีทางการศึกษา มิได้หมายถึงเฉพาะการนำทัพสัมภาระต่าง ๆ อันเป็นผลผลิตแห่งความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการเรียนการสอนเท่านั้น เทคโนโลยีทางการศึกษา ยังหมายถึงวิธีการซึ่งเป็นเพียงแนวคิด เป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้มองด้วยตาไม่เห็น เช่นวิธีระบบ (System approach) วิธีการจัดการเรียนการสอนแบบไม่แบ่งชั้น วิธีการสอนเป็นคณะ ฯลฯ
เทคโนโลยีทางการศึกษาตามแนวคิดนี้ อาจกล่าวได้ว่าเป็นแนวคิดที่เน้นเรื่องการปฏิบัติงานทางการศึกษาด้วยวิธีระบบ หรืออาจกล่าวโดยสรุปแนวคิดเทคโนโลยีทางการศึกษาตามแนวคิดนี้ได้ว่า
เทคโนโลยีทางการศึกษาหมายถึงการออกแบบ การวางแผน การดำเนินการ ตามแผนการประเมินผลภายใต้จุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้อย่างเฉพาะเจาะจงอย่างมีระบบโดยการดำเนินการตามขั้นตอนดังกล่าว ตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักการที่ได้มาจากการวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์ตลอดจนอาศัยทรัพยากรที่มนุษย์สร้างขึ้น ธรรมชาติสร้างขึ้น และ หรือ มนุษย์และธรรมชาติสร้างร่วมกัน

ที่มาของข้อมูล : มนตรี แย้มกสิกร.(2547).การวิจัยและทฤษฎีเทคโนโลยีการศึกษา

จุดตั้งต้นของการพัฒนาการศึกษาไทย อยู่ที่ใครอย่างไร"

จากโจทย์ที่ว่า "จุดตั้งต้นของการพัฒนาการศึกษาไทย อยู่ที่ใครอย่างไร"
จากการเสนอความคิดเห็นจากหลายกลุ่ม ซึ่งมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน แยกออกมาเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
1. ครอบครัว โดยให้เหตุผลว่าครอบครัวจะต้องมีการเลี้ยงดูที่ดี เข้าใจพัฒนาการ และวางฐานการคิดให้กับคนในครอบครัว
2. ครู จะต้องมีการวิธีการสอนที่มีคุณภาพ
3. ผู้บริหารที่เกี่ยวข้องกับนโยบายการศึกษา พระราชบัญญัติ แผนพัฒนาการศึกษา
จากความคิดทั้ง 3 กลุ่ม แล้วกลุ่มไหนหล่ะที่จะเป็นจุดตั้งต้นของการพัฒนาการศึกษาไทย


ตามความคิดเห็นของข้าพเจ้า คิดว่า ครอบครัว เพราะว่า “บ้าน เปรียบเสมือนโรงเรียนแห่งแรกของเด็ก” พ่อ แม่ ก็ เปรียบเหมือนครูคนแรกของลูก ดังนั้นข้าพเจ้าจึงได้ค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนความคิดดังนี้

การสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ในระดับครอบครัว มีเหตุผล 4 ประการ คือ
1. ครอบครัวเป็นรากฐานของชีวิตและความสัมพันธ์ของผู้คนในสังคม ชุมชน ที่สร้างการเรียนรู้และความผูกพันระหว่างกัน ถ้าความเป็นครอบครัวนั้นๆ อ่อนแอ ไม่เข้มแข็ง การสร้างบุคคลแห่งการเรียนรู้จะเกิดผลดีได้อย่างไร
2. ครอบครัวเป็นรากฐานที่สำคัญของการพัฒนาทุกสิ่ง ถ้าไม่ส่งเสริมการเรียนรู้และการสร้างความรู้ของคนในครอบครัว เพื่อนำไปสู่การพึ่งพาตนเองและการสร้างความสุขของครอบครัว จะนำไปสู่การพัฒนาชุมชน สังคม ประเทศชาติได้อย่างไร
3. ครอบครัวถูกกระทำหรือเป็นผู้เสพนวัตกรรมทั้งสิ่งของ วิธีคิด และกระบวนการของคนอื่นมามากมาย การที่ครอบครัวจะสร้างนวัตกรรมของตนเองขึ้นมาจะต้องอาศัยฐานคิดสภาพแวดล้อมที่ตนเองมีอยู่ และปรับวิธีคิดที่เกิดจากการเรียนรู้ไปใช้ในการจัดการความสัมพันธ์และการทำงาน หรือกล่าวอีนัยหนึ่งว่า ถึงเวลาที่ครอบครัวจะต้องลุกขึ้นมาจัดการตนเองเสียใหม่
4. ในยุคโลกาภิวัฒน์หรือโลกไร้พรมแดน มีการแข่งขันและการครอบงำสูง ครอบครัว/ชุมชน จะต้องมีความสามารถในการนำความรู้มาสร้างนวัตกรรมเพื่อใช้พลังขับเคลื่อนในการพึ่งพาตนเองและการพัฒนาสังคม ความรู้และนวัตกรรมที่สร้างขึ้นมานั้นจะต้องก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและเสริมสร้างวัฒนธรรมที่ให้คุณค่ากับการเรียนรู้และศักยภาพในการพัฒนาท้ายที่สุด คงเป็นคำถามสุดท้ายที่จะถามท่านผู้อ่านว่า ณ เวลา นี้ ท่านได้สร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ในครอบครัวและตัวท่านแล้วหรือไม่อย่างไร “คำตอบสุดท้ายน่าจะอยู่ที่ตัวท่านเองในฐานะผู้จัดการองค์ความรู้ที่ผ่านประสบการณ์ของชีวิตมาแล้วอย่างมากมาย ไม่ต้องรอให้ถึงวันพรุ่งนี้ แต่ท่านควรลงมือทำซะเดี๋ยวนี้ เพราะนั่นคือ คำตอบของนวัตกรรมการเรียนรู้ของครอบครัว... คือ... การพัฒนาที่ยั่งยืน
ที่มาของข้อมูล : บางส่วนของเอกสารจากเว็บ http://learners.in.th/file/wasanapum/s7.doc

จากเข้อมูลที่ข้าพเจ้า ได้ค้นคว้าเพื่อสนับสนุนความคิด แต่เป็นเพียงการมองไปในส่วนเดียว ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว การจะพัฒนาการศึกษาไทยได้จะต้องประกอบไปด้วยหลายส่วนที่เกี่ยวข้อง เริ่มต้นต้องเกิดจากครอบครัว แต่ปัจจุบันระบบครอบครัวของคนไทยได้ปรับเปลี่ยน ผู้ปกครองจะต้องทำงานนอกบ้านหารายได้ไม่มีเวลาที่จะดูและบุตรหลานจึงต้องยกภาระให้กับคุณครูเพื่อดูแล ส่งบุตรหลานเข้าเรียนตั้งแต่อายุยังน้อย ทำให้ต้องเป็นหน้าที่ของคุณครูที่จะดูแลอบรมสั่งสอน ให้ความรู้วิชาการและคุณธรรมจริยธรรม จึงมีหลายคนให้ความคิดเห็นว่าคุณครูเป็นบุคคลที่มีความสำคัญทางการศึกษามากกว่าครอบครัว ครอบครัวเป็นเพียงส่วนสนับสนุนในการให้บุตรหลานสามารถที่จะเข้าเรียนศึกษาหาความรู้และอบรมจากคุณครู ส่วนผู้บริหารทางการศึกษาเป็นผู้ที่จะออกนโยบายฝ่ายบริหารในการวางแผนและตรวจสอบ เพื่อให้การทำงานของคุณครูเป็นไปตามนโยบายที่วางไว้ จาก 3 กลุ่มที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่าแต่ละกลุ่มจะต้องประสานการทำงานซึ่งกันและกันไม่ควรจะมอบหมายหรือยกภาระให้กับส่วนหนึ่งส่วนใดโดยเฉพาะ จะต้องส่งเสริมสนับสนุนและทำหน้าที่ของแต่ละกลุ่มอย่างเต็มที่ ส่วนครอบครัวก็ดูแลบุตรหลานขณะที่อยู่กับครอบครัวให้ความรัก เวลา และความเข้าใจ ส่วนคุณครูก็ทำหน้าให้ความรู้วิชาการและคุณธรรมจริยธรรม ส่วนผู้บริหารก็ควรวิเคราะห์ภาพรวมวางแผนนโยบายต่าง ๆ เพื่อการพัฒนาการศึกษาไทย อย่างจริงจังและมีประสิทธิภาพ ....ถ้าแต่ละส่วนทำหน้าที่ของตนเองได้ดี การพัฒนาการศึกษาไทยก็จะไปได้ไกล ยั่งยืน และมีประสิทธิภาพ